沪江

泰语词汇讲堂:泰语中最奇怪的“ฯพณฯ”你认识吗?

屁岛(翻译) 2024-04-28 14:49

泰语中有一个长相和读音都非常奇怪的词,它就是“ฯพณฯ”,初学者很难从它奇怪的长相中判断它的读音,也不知道它是什么意思。今天,我们就来好好了解一下泰语里的这个“异类”,看看它的使用都有哪些趣事!

คำว่า ฯพณฯ ที่อ่านว่า “พณะท่าน” มาจากคำว่าอะไร-ย่ออย่างไร? ทำไมมี “ฯ” ด้านหน้า-หลัง
“ฯพณฯ”/pha4na4thaan3/ ‘阁下’  这个词来自哪里?是怎么缩写的?为什么前后都会有省略符号“ฯ”?

เมื่อครั้งผมยังรับราชการอยู่นั้น มีอาจารย์ภาษาไทยท่านหนึ่งขอให้ผมเขียนความเป็นมาของคำว่า “พณหัวเจ้าท่าน” แต่เผอิญผมลาออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2528 จึงไม่ได้เขียน เพิ่งมานึกได้เมื่ออายุ 70 ก็คิดว่าน่าจะได้เขียนไว้ให้คนรุ่นหลังอ่านกันเล่น
在我还在公职时,有一位泰语老师请求我写关于“พณหัวเจ้าท่าน” /pha4na4hua5cao3thaan3/ ‘阁下’的起源。但不巧的是,1985年我已经辞去了公职,所以没有写下来。直 到我七十岁的时候才想起这件事,觉得应该写下来留给后人阅读。

คําว่า “พณหัวเจ้าท่าน” เป็นคําไทยโบราณที่ใช้มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่จะเก่าถึงรัชกาลไหนไม่ทราบ เท่าที่พบหลักฐานมีปรากฏในหนังสือกรมการเมืองตะนาวศรี อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์กเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย แรม 9 ค่ำ ปี ระกา ตรีศก จุลศักราช 983 (พ.ศ. 2164) ได้ใช้เป็นคำนำหน้าบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองว่า “พณหัวเจ้าท่าน”  ครั้นต่อมา คนเห็นยาวเร่อร่านัก จึงเขียนย่อให้สั้นว่า “พณฯ” และ “ฯพณฯ”
“พณหัวเจ้าท่าน”/pha4na4hua5cao3thaan3/ ‘阁下’是泰国古代的一个词汇,据悉自大城王朝时期开始使用,但确切起源于哪一统治时期目前尚不得而知。据Tanaosri史书的记 载,在1621年鸡年的农历正月二十四星期一,有关泰国允许丹麦商人进入贸易的文件中,使用了“พณหัวเจ้าท่าน”/pha4na4hua5cao3thaan3/ ‘阁下’这一尊称,用于描述城市贵族。随后,为了简化,人们开始使用“พณฯ”或“ฯพณฯ”。

คำนี้ใครเป็นผู้กำหนดให้เขียนก็ไม่ทราบ ดูรูปร่างแปลกคล้าย ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า ไปยาลใหญ่
这个词的创作者至今无从考 证,其形式看起来有点像“ฯลฯ” ‘等等’,也就是所谓的“ไปยาลใหญ่”(大省略符号)。

ทีนี้คำว่า “พณหัวเจ้าท่าน” ถ้าจะตัดให้สั้นก็น่าจะเป็น “พณฯ” แต่ทำไมจึงเป็น “ฯพณฯ” ก็ไม่ทราบ บางทีเรื่องนี้อาจจะมีคนเคยสังเกตกันมาแล้ว ดังปรากฏในรายงานการประชุมของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ได้บันทึกไว้ว่า
至于“พณหัวเจ้าท่าน”这个词,如果要简化的话应该是“พณฯ”,但为什么变成了“ฯพณฯ”我也不清楚。有些人可能早已关注这个问题,正如记录在1954年2月27日国家文 化委员会会议上的内容所示:

ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ส่งเรื่องการอ่านคำว่า ‘พณฯ’ ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ขอให้พิจารณา บัดนี้ สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า คำว่า ‘พณฯ’ นี้อ่านได้เป็น 2 นัย คือ อ่านเต็มตามโบราณนิยมว่า ‘พณหัวเจ้าท่าน’ กับอ่านตามความนิยมในปัจจุบันว่า ‘พณะท่าน’ สําหรับคำนี้ถ้าให้หมายความอย่างภาษาอังกฤษว่า His Excellency แล้วควรเขียนว่า ‘พณฯ’ ไม่ใช่ ‘พณฯ ท่าน’ และอ่านว่า ‘พณฯ’ เฉย ๆ ไม่มีคำว่าท่านต่อท้าย หรือเขียนและอ่านตามเสียงนิยมให้ชัดว่า ‘พณะท่าน’ เป็นศัพท์สมัยใหม่
“根据文化部关于‘พณฯ’这个词的读法议案,宣传部门已进行审议,文学文化部门研究后发现‘พณฯ’这个词有两种解读,一是传统解释为‘พณหัวเจ้าท่าน’,另一种是现代解释为‘พณะท่าน’。对于这个词,如果按照英文解释为‘His Excellency’,那么应该写作‘พณฯ’,而不是‘พณฯ ท่าน’,读音为‘พ ณฯ’/pha4na4/,后面不跟‘ท่าน’ /thaan3/,或者根据通行的书写和发音明晰度写作‘พณะท่าน’/pha4na4thaan3/,作为一个现代词汇。”

ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วลงมติให้เขียนว่า ‘พณฯ’ และให้อ่านว่า ‘พณะท่าน’
经过会议讨论和审议,决定 书写为“พณฯ”,但发音为“พณะท่าน” /pha4na4thaan3/。

แต่จะด้วยเหตุผลกลใดก็ไม่ทราบ ทางราชการยังคงใช้ว่า ‘ฯพณฯ’ ต่อมา และจะเป็นด้วยการใช้คำนี้ฟั่นเฝือเกินไป จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2486 ให้เลิกระเบียบการเขียนจดหมายหรือหนังสือราชการที่ใช้คำนี้ โดยทางกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ออกหนังสือชี้แจงไปตามกระทรวงต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง แต่ก็หาเชื่อฟังไม่ จนในที่สุดมีหนังสือลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2488 เตือนมาอีกว่า
然而,为何政府仍然使用“ฯพณฯ”无法得知。随后政府继续沿用“ฯพณฯ”,导致这个词用得太过混乱。因此,政府内阁在1943年做出决定,停止该词在信件或官方文件中的使用的法令,并 由内阁秘书处发出通知,各部门也曾至少两次接到执行该决定的命令。然而,情况仍然没有改变,于是内阁秘书处于1945年9月15日发布再次警告:

“บัดนี้ ยังปรากฎว่าได้มีการใช้คำนำหน้านามของรัฐมนตรีหรือท่านผู้มีเกียรติว่า ฯพณฯ อยู่ ผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า สมควรจะเลิกใช้คำนำหน้านามดั่งกล่าวแล้วเสีย เว้นไว้แต่ในกรณีพิเศษที่จำเป็นจริง ๆ อันเกี่ยวกับต่างประเทศ หรือใช้เฉพาะที่เป็นคำแปลมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น”
“近来发现在部长或尊贵人士的名字前仍在使用‘ฯพณฯ’这一尊称。总理代理经审议后认为,除非在确实必要的特殊情况下,如涉及外交事务或者从外文翻译而来的情况,否则应停止使用该尊称。”

เข้าใจว่าคำเตือนนี้จะถูกเก็บเข้าลิ้นชัก เพราะยังคงมีใช้ต่อมา แม้ในกระทรวงศึกษาธิการก็ยังใช้นำหน้านามรัฐมนตรี จนหลายสิบปีต่อมา เมื่อนายจรูญ วงศ์สายัณห์ เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้หยิบคำสั่งเดิมออกมาปัดฝุ่น ทำหนังสือเวียนให้อธิบดีทุกกรมรับไปปฏิบัติ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2519 โดยอ้างว่า
这份警告又被搁置一旁,因为尽管存在禁令,但这个词仍在继续使用,甚至在教育部内部都仍然用在部长名字前。直到Jarun Wongsayan接 任教育部常务次长,才将这个旧指示翻出来。他下令广发文件,要求各部门负责人遵守该指示,该文件于1976年9月23日发布,内容如下:

“ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้โปรดสั่งให้เลิกใช้คำนำนามตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคำขึ้นต้นหนังสือราชการ คงให้ใช้แต่เพียง กราบเรียน นายกรัฐมนตรี เท่านั้น”
“教育部长特此命令停止在公文书信中在总理这一职位前添加其他称呼词,仅使用‘尊敬的总理’即可。”

 

所以,大家还在哪里见过这个词呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。

展开剩余